วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

เกล็ดคณิตศาสตร์


ระบบจำนวนจริง
     จากแผนผังแสดงความสัมพันธ์ของจำนวนข้างต้น จะพบว่า ระบบจำนวนจริง จะประกอบไปด้วย
     1. จำนวนอตรรกยะ หมายถึง จำนวนที่ไม่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปเศษส่วนของจำนวนเต็ม หรือทศนิยมซ้ำได้ ตัวอย่างเช่น √2 , √3, √5, -√2, - √3, -√5 หรือ ¶ ซึ่งมีค่า 3.14159265...
     2. จำนวนตรรกยะ หมายถึง จำนวนที่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปเศษส่วนของจำนวนเต็มหรือทศนิยมซ้ำได้ ตัวอย่างเช่น
เขียนแทนด้วย 0.5000...
เขียนแทนด้วย 0.2000...
ระบบจำนวนตรรกยะ
     จำนวนตรรกยะยังสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
     1. จำนวนตรรกยะที่ไม่ใช่จำนวนเต็ม หมายถึง จำนวนที่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปเศษส่วนหรือทศนิยมซ้ำได้ แต่ไม่เป็นจำนวนเต็ม ตัวอย่างเช่น
     2. จำนวนเต็ม หมายถึง จำนวนที่เป็นสมาชิกของเซต I = {..., -4, -3, -2, -1, 0, 1, 2, 3, 4, ...} เมื่อกำหนดให้ I เป็นเซตของจำนวนเต็ม
ระบบจำนวนเต็ม
     จำนวนเต็มยังสามารถแบ่งได้อีกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน
1. จำนวนเต็มลบ หมายถึง จำนวนที่เป็นสมาชิกของเซต I - โดยที่
          I - = {..., -4, -3, -2, -1}
เมื่อ I - เป็นเซตของจำนวนเต็มลบ
2. จำนวนเต็มศูนย์ (0)
3. จำนวนเต็มบวก หมายถึง จำนวนที่เป็นสมาชิกของเซต I+ โดยที่
         I+ = {1, 2, 3, 4, ...}
เมื่อ I+ เป็นเซตของจำนวนเต็มบวก
         จำนวนเต็มบวก เรียกได้อีกอย่างว่า "จำนวนนับ" ซึ่งเขียนแทนเซตของจำนวนนับได้ด้วยสัญลักษณ์ N โดยที่
                           N = I+ = {1, 2, 3, 4, ...}
ระบบจำนวนเชิงซ้อน
     นอกจากระบบจำนวนจริงที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีจำนวนอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งได้จากการแก้สมการต่อไปนี้
x2 = -1 ∴ x = √-1 = i
x2 = -2∴ x = √-2 = √2 i
x2 = -3∴ x = √-3 = √3 i
     จะเห็นได้ว่า “ไม่สามารถจะหาจำนวนจริงใดที่ยกกำลังสองแล้วมีค่าเป็นลบ” เราเรียก √-1 หรือจำนวนอื่นๆ ในลักษณะนี้ว่า “จำนวนจินตภาพ”และเรียก i ว่า "หนึ่งหน่วยจินตภาพ" เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ i
     ยูเนียนของเซตจำนวนจริงกับเซตจำนวนจินตภาพ คือ " เซตจำนวนเชิงซ้อน " (Complex numbers)
สมบัติการเ่ท่ากันของจำนวนจริง
     กำหนด a, b, c เป็นจำนวนจริงใดๆ
     1. สมบัติการสะท้อน a = a
     2. สมบัติการสมมาตร ถ้า a = b แล้ว b = a
     3. สมบัติการถ่ายทอด ถ้า a = b และ b = c แล้ว a = c
     4. สมบัติการบวกด้วยจำนวนที่เท่ากัน  ถ้า a = b แล้ว a + c = b + c
     5. สมบัติการคูณด้วยจำนวนที่เท่ากัน ถ้า a = b แล้ว ac = bc
    
สมบัติการบวกในระบบจำนวนจริง
     กำหนด a, b, c เป็นจำนวนจริงใดๆ
    1. สมบัติปิดการบวก a + b เป็นจำนวนจริง
    2. สมบัติการสลับที่ของการบวก a + b = b + c
    3. สมบัติการเปลี่ยนกลุ่มการบวก a + ( b + c) = ( a + b ) + c
    4. เอกลักษณ์การบวก 0 + a = a = a + 0
    นั่นคือ ในระบบจำนวนจริงจะมี 0 เป็นเอกลักษณ์การบวก
    5. อินเวอร์สการบวก a + ( -a ) = 0 = ( -a ) + a
    นั่นคือ ในระบบจำนวนจริง จำนวน a จะมี -a เป็นอินเวอร์สของการบวก
สมบัติการคูณในระบบจำนวนจริง
กำหนดให้ a, b, c, เป็นจำนวนจริงใดๆ
     1. สมบัติปิดการคูณ ab เป็นจำนวนจริง
     2. สมบัติการสลับที่ของการคูณ ab = ba
     3. สมบัติการเปลี่ยนกลุ่มของการคูณ a(bc) = (ab)c
     4. เอกลักษณ์การคูณ 1 · a = a = a · 1
    นั่นคือในระบบจำนวนจริง มี 1 เป็นเอกลักษณ์การคูณ
    5. อินเวอร์สการคูณ a · a-1 = 1 = a · a-1, a ≠ 0
    นั่นคือ ในระบบจำนวนจริง จำนวนจริง a จะมี  a-1 เป็นอินเวอร์สการคูณ ยกเว้น 0
     6. สมบัติการแจกแจง
               a( b + c ) = ab + ac
               ( b + c )a = ba + ca
     จากสมบัติของระบบจำนวนจริงที่ได้กล่าวไปแล้ว สามารถนำมาพิสูจน์เป็นทฤษฎีบทต่างๆ ได้ดังนี้
ทฤษฎีบทที่ 1กฎการตัดออกสำหรับการบวก
เมื่อ a, b, c เป็นจำนวนจริงใดๆ
ถ้า a + c = b + c แล้ว a = b
ถ้า a + b = a + c แล้ว b = c
ทฤษฎีบทที่ 2กฎการตัดออกสำหรับการคูณ
เมื่อ a, b, c เป็นจำนวนจริงใดๆ
ถ้า ac = bc และ c ≠ 0 แล้ว a = b
ถ้า ab = ac และ a ≠ 0 แล้ว b = c
ทฤษฎีบทที่ 3 เมื่อ a เป็นจำนวนจริงใดๆ
a · 0 = 0
0 · a = 0
ทฤษฎีบทที่ 4เมื่อ a เป็นจำนวนจริงใดๆ
(-1)a = -a
a(-1) = -a
ทฤษฎีบทที่ 5 เมื่อ a, b เป็นจำนวนจริงใดๆ
ถ้า ab = 0 แล้ว a = 0 หรือ b = 0
ทฤษฎีบทที่ 6 เมื่อ a เป็นจำนวนจริงใดๆ
a(-b) = -ab
(-a)b = -ab
(-a)(-b) = ab
      เราสามารถนิยามการลบและการหารจำนวนจริงได้โดยอาศัยสมบัติของการบวกและการคูณใน
ระบบจำนวนจริงที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น
• การลบจำนวนจริง
บทนิยามเมื่อ a, b เป็นจำนวนจริงใดๆ
a- b = a + (-b)
นั่นคือ a - b คือ ผลบวกของ a กับอินเวอร์สการบวกของ b
• การหารจำนวนจริง
บทนิยามเมื่อ a, b เป็นจำนวนจริงใดๆ เมื่อ b ≠ 0
= a(b-1)
นั่นคือคือ ผลคูณของ a กับอินเวอร์สการคูณของ b

คณิตศาสตร์ที่ควรรู้

 เกร็ดคณิตศาสตร์นี้เป็นสิ่งที่อยากที่จะนำเสนอให้เพื่อนครูได้ลองนำไปใช้เพื่อให้นักเรียนสนุกกับคณิตศาสตร์ ซึ่งหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกท่านไม่มากก็น้อย
ข้อที่ (1)   การหาค่ากำลังสองของเลขที่ลงท้ายด้วย 5
     เทคนิคการคิดลัดในการหาคำตอบให้ได้อย่างรวดเร็ว  
        1. ให้เอา  5  ตัวท้ายคูณกันได้  25   ตั้งเป็นผลลัพธ์หลักหน่วย และ หลักสิบไว้ก่อน
        2.  ให้เอาจำนวนที่อยู่หน้าเลข 5  คูณจำนวนที่มากกว่ามันอยู่  หนึ่ง  คูณได้เท่าไร เขียนเป็น 
            ผลลัพธ์ต่อ 25  เป็นหลักร้อย , หลักพัน , หลักหมื่น ฯลฯ  เป็นผลลัพธ์ ที่ถูกต้องและ  รวดเร็ว
ตัวอย่าง  เช่น
    1.   25 × 25   ก็ให้เอาตัวท้ายคือ   5 ×5   ได้   25    ตั้งไว้   เอา 2  ตัวหน้า  คูณกับ เลขที่

          มากกว่า  2  อยู่  หนึ่ง   ( คือ เลข  3  )  2×3  ได้  6   ตั้งเป็นผลลัพธ์  ต่อจาก  25  เป็น
          625   แสดงว่า    25×25    =   625
     2.  45×45   ก็ให้เอาตัวท้ายคือ   5×5   ได้   25    ตั้งไว้   เอา 4  ตัวหน้า  คูณกับ เลขที่

         มากกว่า  4  อยู่ หนึ่ง    ( คือ เลข  5   )  4×5  ได้   20     ตั้งเป็นผลลัพธ์  ต่อจาก  25  เป็น

         2,025   แสดงว่า    45×45   =    2,025 
 
ข้อที่ (2)   การคูณเลข  2  หลักที่จำนวนหน้าเท่ากัน   จำนวนหลังบวกกันได้  10   
   เทคนิคการคิดลัดในการหาคำตอบให้ได้อย่างรวดเร็ว  
        1. ให้เอา  เลข ตัวท้ายคูณกัน    ตั้งเป็นผลลัพธ์หลักหน่วย และ หลักสิบไว้ก่อน
        2.  ให้เอาตัวหน้าคูณกับจำนวนที่มากกว่ามันอยู่  หนึ่ง  คูณได้เท่าไร เขียนเป็นผลลัพธ์ต่อ
             เป็นหลักร้อย , หลักพัน , หลักหมื่น ฯลฯ  เป็นผลลัพธ์ ที่ถูกต้อง และ  รวดเร็ว
        3.  กรณีที่คูณกันแล้ว ได้ หลักหน่วย  อย่างเดียว  ให้ใส่เลขศูนย์ เป็นหลักสิบ ( เช่น 1×9 )
             ให้เขียน   09  )
ตัวอย่าง  เช่น
       1)  22×28   ก็ให้เอาตัวท้ายคือ   2×8   ได้   16    ตั้งไว้   เอา 2  ตัวหน้า  คูณกับ เลขที่

            มากกว่า  2  อยู่  หนึ่ง   ( คือ เลข  3  )  2×3  ได้  6   ตั้งเป็นผลลัพธ์  ต่อจาก  16  เป็น

            616  แสดงว่า    22×28   =   616
        2)  31×39    ก็ให้เอาตัวท้ายคือ   1×9   ได้   09    ตั้งไว้   เอา 3  ตัวหน้า  คูณกับ เลขที่

            มากกว่า  3  อยู่  หนึ่ง   ( คือ เลข   4  )  3×4  ได้   12    ตั้งเป็นผลลัพธ์  ต่อจาก  09  เป็น

            1,209  แสดงว่า    31×39    =   1,209
 
 
ข้อที่ (3)   การคูณเลข  2  หลักที่จำนวนหลังเท่ากัน   จำนวนหน้าบวกกันได้  10   
  เทคนิคการคิดลัดในการหาคำตอบให้ได้อย่างรวดเร็ว
        1. ให้เอา  เลข ตัวท้ายคูณกัน    ตั้งเป็นผลลัพธ์หลักหน่วย และ หลักสิบไว้ก่อน
        2.  ให้เอาตัวหน้าคูณกัน  แล้วบวกตัวหลัง  หนึ่งตัว   เขียนเป็นผลลัพธ์ต่อเป็นหลักร้อย , หลักพัน ,
             หลักหมื่น ฯลฯ  เป็นผลลัพธ์ ที่ถูกต้อง และ  รวดเร็ว
        3.  กรณีที่คูณกันแล้ว ได้ หลักหน่วย  อย่างเดียว  ให้ใส่เลขศูนย์ เป็นหลักสิบ ( เช่น 1  × 9 )
            ให้เขียน   09  )
 
ตัวอย่าง  เช่น
      1)  27×87   ก็ให้เอาตัวท้ายคือ   7×7  ได้   49    ตั้งไว้   เอา 2  ตัวหน้า  คูณกัน  บวกกับตัว

          หลัง   หนึ่ง   ตัว  2×8  ได้  16   บวกตัวหลังคือ เลข 7  ได้เท่ากับ   23  ตั้งเป็นผลลัพธ์  ต่อ

          จาก   49  เป็น   2,349   แสดงว่า    27×87   =   2,349
 
       2) 18×98    ก็ให้เอาตัวท้ายคือ   8×8   ได้   64    ตั้งไว้   เอา 2  ตัวหน้า  คูณกัน  บวกกับ

           ตัวหลัง  หนึ่ง   ตัว    1×9  ได้    9   บวกตัวหลังคือ เลข  8  ตั้งเป็นผลลัพธ์  ต่อจาก  17  เป็น
           1,764   แสดงว่า    18×98    =     1,764
 
 
ข้อที่ (4) การคูณเลข  สองหลักที่มีหลักสิบเป็นเลข  1   ทั้งตัวตั้งและตัวคูณ
    เทคนิคการคิดลัดในการหาคำตอบให้ได้อย่างรวดเร็ว
        1. ให้เอาเลข ตัวท้ายคูณกัน  ตั้งเป็นผลลัพธ์หลักหน่วย  ถ้าคูณกันเกิน 9 ให้ทดหลักสิบไว้ก่อน
        2.  เอาจำนวนหน้า  บวกหลักหน่วยตัวหลัง และ บวกจำนวนที่ทดไว้  เขียนเป็นผลลัพธ์ต่อจาก
             ที่เขียนไว้เป็นหลักสิบ  หลักร้อย ก็จะได้ผลลัพธ์ ที่ถูกต้อง และรวดเร็ว
 
ตัวอย่าง  เช่น
        1)  17×15   ก็ให้เอาตัวท้ายคือ  7×5  ได้   35    ใส่  5  ทดไว้  3  เอาจำนวนหน้าคือเลข 17
 
               บวกหลักหน่วยตัวหลัง  คือเลข    5     ได้  17  บวก 5  บวกจำนวนที่ทดไว้ คือเลข  3 เท่ากับ 25  เขียนต่อจากหลักหน่วยเป็นผลลัพธ์   255  แสดงว่า    17×15   =   255
        2)  18×19   ก็ให้เอาตัวท้ายคือ  8×9  ได้   72    ใส่  2  ทดไว้  7  เอาจำนวนหน้าคือเลข 18
             บวกหลักหน่วยตัวหลัง  คือเลข    9     ได้  18  บวก 9  บวกจำนวนที่ทดไว้ คือเลข  7 เท่ากับ
            34   เขียนต่อจากหลักหน่วยเป็นผลลัพธ์   322  แสดงว่า    18×19   =   342
 
 
ข้อที่ (5) การคูณเลข  สองหลักที่มีหลักหน่วยเป็นเลข  1   ทั้งตัวตั้งและตัวคูณ
เทคนิคการคิดลัดในการหาคำตอบให้ได้อย่างรวดเร็ว
        1. เขียน  1   เป็นหลักหน่วยที่ผลลัพธ์ ตั้งไว้ก่อน
        2.  เอาเลข หลักสิบ บวกกับ หลักสิบ  ได้เท่าไร เขียนเป็นผลลัพธ์   หลักสิบ  ต่อจาก  1
             ถ้าบวกกันได้เลขสองตัว ให้ทดตัวหน้าไว้ก่อน
         3.  เอาหลักสิบ คูณ หลักสิบ บวกกับตัวทด  ได้เท่าไร เขียนผลลัพธ์  ต่อเป็น หลักร้อย  หลักพัน
 
             ต่อไป ก็จะได้ผลลัพธ์ ที่ถูกต้อง และรวดเร็ว
 
ตัวอย่าง  เช่น
 
      1)  71×51   ก็ให้เขียน  1   เป็นหลักหน่วยที่ผลลัพธ์     เลขหลักสิบ  บวกเลข  หลักสิบ

          (7+5 ) ได้   12    ใส่   2  เป็นหลักสิบ  ทด  1    เอาเลข หลักสิบ คูณ เลข  หลักสิบ
 
           บวกกับตัวทด   ( 7×5  + 1 =  36  )  เขียนต่อจากหลักหน่วยเป็นผลลัพธ์   3621

          แสดงว่า    71×51   =   3621
 

 

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555


รวมสูตรคณิตศาตร์
วงกลม                                                 =  22/7 (พาย)xเส้นผ่านศูนย์กลาง
รูปว่าว                                                  =  1/2 x ผลคูณของเส้นทะเเยงมุม
             =  5เหลี่ยมสูตรการหาพื้นที่คือ รูทเศษ 3ส่วนสี่ คูณด้านยกกำลังสองคูณ 5
             =  6เหลี่ยมก็จะเป็นรูทเศษ 3ส่วนสี่คูนด้านยกกำลังสองคูน 6 แต่ทั้งสองรูปนั้นต้องเป็น 5     หรือ  6  เหลี่ยมด้านเท่าเท่านั้นน่ะครับ
สามเหลี่ยม                                          =1/2 x ฐาน x สูง
พื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า                           = กว้าง x ยาว
พื้นที่สี่เหลี่ยมจตุรัส                            = ด้าน x ด้าน
พื้นที่สี่เหลี่ยมด้านขนาน                    = ฐาน x สูง
พื้นที่สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน               = 0.5 x ผลคูนของเส้นทแยงมุม
พื้นที่สี่เหลี่ยมคางหมู                         = 0.5 x ผลบวกของด้านคู่ขนานxสูง
พื้นที่สี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า หรือ ใดๆ   = 0.5 xเส้นทแยงมุม x ผลบวกของเส้นกิ่ง
พื้นที่สี่เหลี่ยมรูปว่าว                           = 0.5xผลคูลของเส้นทแยงมุม
พื้นที่วงกลม                                         = 3.14x รัศมีกำลังสอง
ปริมาตรทรงกรวย                               = 1/3xพื้นที่ฐานxสูง
ปริมาตรทรงกลม                                 = 4/3 พาย R^3
พื้นที่วงแหวน                                       = (R-r)^2พาย
สี่เหลี่ยมใดๆ                                         = 1/2xผลคูณเส้นทแยงมุม
สามเหลี่ยมใดๆ                                    = 1/2xฐานxสูง
ปริมาตรทรงปริซึม                              = พื้นที่ฐานxสูง
พีระมิด                                                 = (1/3) x พื้นที่ฐาน x สูงx ด้านกำลัง2
พื้นที่สี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า                    = เส้นทแยงมุม/2xผลคูณเส้นกิ่ง
พื้นที่วงกลม                                         = พายr ยกกำลัง2
พื้นที่สี่เหลี่ยมคางหมู                          = 1/2xผลบวกด้านคู่ขนานคูณสูง
สามเหลี่ยมด้านเท่า                             = รูท 3/4xด้านกำลัง 2
สามเหลี่ยมหน้าจั่ว                   = ฐาน/4xรูท4*ด้านประกอบมุมยอดกำลัง 2 - ฐานกำลัง2 
สามเหลี่ยมมุมฉาก                              = 1/2xผลคุณของด้านประกอบมุมฉาก
วงกลม        = พายrกำลัง2 หรือ 1/4 พายdกำลัง2 เมื่อ r คือรัศมี d คือเส้นผ่านศูนย์กลาง
                              4/3 x pi x r3 คือปริมาตรทรงกลม ไม่ใช่พื้นที่
                              4 x pi x r2 คือพื้นที่ผิวทรงกลม